มดพบได้โดยทั่วไป ทั่วโลกจัดจำแนกชนิดแล้วมากกว่า 12,000 ชนิด มดที่เป็นแมลงศัตรูได้แก่ มดอาร์เจนตินา (Argentine ant, +Linepithema humile) มดละเอียด (Pharoach ant, Monomorium pharaonis) มดเหม็น (The Odorous House ant, Tapinoma sessile) มดคันไฟThe thief ant (Solenopsis molesta) และ มดคันไฟ The southern fire ant (Solenopsis xyloni). มดที่พบเจอและเป็นปัญหาสำคัญได้แก่ มดคันไฟ (Red imported fire ant, Solenopsis invicta)
มดอาร์เจนตินา
มดพบได้โดยทั่วไป ทั่วโลกจัดจำแนกชนิดแล้วมากกว่า 12,000 ชนิด มดที่เป็นแมลงศัตรูได้แก่ มดอาร์เจนตินา (Argentine ant, +Linepithema humile) มดละเอียด (Pharoach ant, Monomorium pharaonis) มดเหม็น (The Odorous House ant, Tapinoma sessile) มดคันไฟThe thief ant (Solenopsis molesta) และ มดคันไฟ The southern fire ant (Solenopsis xyloni). มดที่พบเจอและเป็นปัญหาสำคัญได้แก่ มดคันไฟ (Red imported fire ant, Solenopsis invicta)
ความเสียหาย
การแพร่กระจายของมดนั้น อาจเกิดขึ้นเพราะการแพร่ระบาดของเพลี้ยหอย และเพลี้ยอ่อนซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืช เพลี้ยหอยและเพลี้ยอ่อนสามารถสร้าง honeydew หรือน้ำหวาน ซึ่งเป็นอาหารของมด มดจะอาศัยเพลี้ยหอยและเพลี้ยอ่อนในการหาอาหาร มดยังมีส่วนคอยปกป้อง เพลี้ยอ่อนและเพลี้ยหอยจากศัตรูอีกด้วย
ชีววิทยาและวงจรชีวิต
มดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ (complete metamorphosis) โดยในวงจรชีวิตจะประกอบด้วย ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย
มดนั้นเป็นแมลงสังคมเช่นเดียวกับแมลงในอันดับ Hymenoptera มีการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกให้เห็นชัดเจน
มดนางพญา ทำหน้าที่สืบพันธุ์ สร้าง colony และวางไข่ มดนางพญานั้นจะมีขนาดใหญ่กว่ามดวรรณะอื่น ๆ ภายในรัง บางครั้งอาจทำหน้าที่ให้อาหารและเลี้ยงดูตัวอ่อนได้ด้วย
มดงาน เป็นมดเพศเมีย ทำหน้าที่ออกหาอาหาร รับผิดชอบในการสร้างรังและทางเดิน ปกป้องรังและสมาชิกภายในรังจากศัตรู ดูและตัวอ่อนและราชินี
มดเพศผู้ ไม่มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างรัง โดยทั่วไปจะมีปีก มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับมดนางพญา
มดเพศผู้ส่วนหนึ่งอาจจะถูกเลี้ยงดูด้วยมดงาน
มดมักจะสร้างรังอยู่ในดิน มักจะพบรังอยู่ติดกับตัวอาคาร หรือมักพบรังใกล้กับแหล่งอาหาร เช่น
ต้นไม้ หรือพืชที่มีแมลงที่สามารถสร้าง honeydew นอกจากนั้นยังอาจพบเจอรังมดใต้ตอไม้ ใต้หิน ใต้สิ่งปลูกสร้าง หรือสถานที่ที่ปลอดภัย ไม่มีการรบกวนจากศัตรู
มดนั้นกินอาหารได้หลากหลายเช่น ผลไม้ เมล็ดพืช ถั่ว อาหารที่มีไขมันเป็นองค์ประกอบ แมลงที่มีชีวิตหรือซากแมลงก็สามารถกินได้ ซากสัตว์ ขนม เป็นต้น มดต่างต่างชนิดกัน อาจจะกินอาหารต่างชนิดกัน
การที่มดเข้าไปภายในอาคาร หรือที่อยู่อาศัยนั้นเพื่อที่จะหาอาหาร แหล่งน้ำ แหล่งพักพิงอบอุ่น หลบภัยจากสภาพอากาศที่ร้อน หรือสภาพน้ำท่วม มดจะหลบเข้าไปภายในอาคารทันที่ที่ภายในอาคารมีแหล่งอาหารและภายนอกนั้นมีสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
การป้องกันกำจัด
มดจะเดินกันเป็นทาง โดยอาศัยฟีโรโมนทำทาง มดจะปล่อยตามทางเดินที่พวกมันเดินผ่านไป เพื่อให้สมาชิกตามไปยังแหล่งอาหารได้ถูกต้อง บ่อยครั้งที่พบเจอมดทำทางเดินใกล้สายไฟ ท่อน้ำ และพบภายในโครงสร้างต่างๆ
การควบคุมมดนั้น อาจทำการอุดรอยแตกรอยแยก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในห้องครัว พื้นที่เตรียมและพื้นที่เก็บอาหาร ทำความสะอาดภาชนะต่างๆ หรือจัดการเก็บกวาดพื้นที่ต่างๆ ให้เรียบร้อย พยายามไม่เก็บขยะไว้ภายในตัวอาคาร พืชที่พบเจอเพลียหอย เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สามารถสร้าง honeydew ได้ อาจพบเจอรังมดในบริเวณนั้นด้วย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ ไม้พุ่มติดกับตัวอาคาร การควบคุมมดที่พบเจอภายใน และรอบๆโครงสร้างของอาคารอีกวิธีหนึ่งคือการใช้เหยื่อพิษ เหยื่อพิษเป็นสารป้องกันกำจัดแมลงอาจจะเป็นสูตรของแข็งหรือของเหลว อาจใช้คู่กับสถานีกำจัดมด ในกรณีของของแข็งมดจะสามารถนำเหยื่อกลับไปที่รังได้ และกระจายเหยื่อให้กับสมาชิกภายในรัง ทำให้สมาชิกภายในรังตายในที่สุด ในการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดมดนั้น อาจใช้ในลักษณะเพื่อป้องกันหรือตัดทางเดินไม่ให้มดเข้ามาในบ้าน โดยใช้ขวางกั้นบริเวณกรอบประตู หน้าต่าง รอยแตกของบ้าน ทางเดินระหว่างกำแพงกันพื้นบ้าน สารเคมีที่ใช้อาจเป็นสารเคมีที่อยู่ในรูปผง ในกรณีที่ไม่สามารถค้นหารังของมดได้ อาจใส่สารเคมีบริเวณที่คิดว่าใกล้กับรังมากที่สุด สารเคมีที่ใช้ควรเป็นสารเคมีประเภทผง เนื่องจากสามารถฟุ้งกระจายเข้าไปข้างในได้ดี มีฤทธิ์ตกค้างได้นาน และมดสามารถขนกลับไปที่รังได้
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มดเข้ามาภายในอาคาร สามารถใช้วิธีฉีดพ่นเป็นจุดเล็ก ๆ รอบๆอาคารเพื่อป้องกันไม่ให้มดเข้ามาภายในอาคาร มันเป็นวิธีการโดยทั่วไปที่ใช้ป้องกันไม่ให้มดเข้ามาภายในตัวอาคารคือการฉีดพ่นรอบๆบริเวณ เพื่อเป็นการป้องกัน แต่ถ้าต้องการที่จะควบคุมรังมดที่อยู่ภายนอกอาคาร ให้มุ่งควบคุมไปที่นางพญาและตัวอ่อนภายในรัง การที่กำจัดแต่เพียงมดงานความสามารถในการร่มรังนั้นมีเพียง 1 เปอร์เซนต์เท่านั้น เพราะว่าก็ยังมีมดงานตัววอื่นที่หาอาหารให้นางพญาและตัวอ่อน
มดไม้ Carpenter Ant
มดไม้เป็นมดชนิดหนึ่งที่มองด้วยตาเปล่าได้ชัดเจน พบอาศัยอยู่รอบ ๆ บ้านและที่อยู่อาศัย เป็นมดที่มีขนาดใหญ่โดยทั่วไปมีสีดำหม่น หรือดำ มดไม้จำแนกออกจากมดชนิดอื่นได้ง่ายเนื่องจากขนาดของลำตัวที่ใหญ่ประมาณ ½ นิ้ว มดไม้ไม่สามารถใช้เหล็กไนในการต่อยศัตรูได้แต่จะใช้ขากรรไกรในการกัดศัตรูเพื่อสร้างความเจ็บปวด และยังสามารถปล่อยกรด formic acid เมื่อถูกรบกวนได้อีกด้วย วรรณสืบพันธุ์ จะเป็นมดที่มีปีก จะทิ้งรังไปเพื่อผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ ทำให้บางครั้งเกิดความสับสันระหว่างแมลงเม่าปลวก กับมดวรรณสืบพันธุ์
ความเสียหาย
มดไม้ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเพราะว่าสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างต่าง ๆ และยังสามารถปนเปื้อนไปกับอาหารได้ด้วย จึงทำให้เป็นที่น่ารังเกียจและไม่ต้องการให้มีมดไม้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร มดไม้ที่อาศัยอยู่ภายในอาคารอาจสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างหรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ แต่ก็ยังสร้างความเสียหายไม่เท่าปลวก
ชีววิทยาและวงจรชีวิต
มดไม้สามารถกินแมลงได้ทั้งที่มีชีวิตและซากแมลง กินน้ำหวานจากเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยหอย หรือน้ำหวานจากผลไม้สุก มดไม้จะสร้างรังในไม้ รังมดไม้มีลักษณะค่อนข้างจะคล้ายกับรังปลวกแต่สามารถแยกได้โดย รังมดไม้จะสะอาดและมีผิวรังคล้ายกระดาษทราย แมลงเม่ามดจะออกจากรังเพื่อผสมพันธุ์ในฤดูใบไม้ผลิ แต่ก็อาจจะผสมพันธุ์กันในช่วงเวลาอื่นของปีได้เช่นกัน โดยปกติแล้วหนึ่งรังจะมีนางพญาวางไข่แต่เพียงผู้เดียว โดยทั่วไปในการสร้าง colonyใช้เวลาประมาณ 3-6 ปี จะมีประชากรประมาณ 2000-3000 ตัว แมลงเม่ามดจะมีประมาณ 200-400 ตัว รอที่จะออกจากรังเพื่อทำการสร้าง colony ใหม่
การควบคุม
ทำการอุดรอยแตกรอยแยกต่างในทุกที่ที่เป็นไปได้ กำจัดแหล่งอาหารภายในอาหาร หรือใส่อาหารไว้ในภารชนะที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันมด พยายามปรับปรุงสภาพห้องที่ชื้น เพราะเป็นสถานที่เหมาะสมสำหรับมดไม้สร้างรัง เปลี่ยนไม้ที่ผุหรือไม้ที่เสียหาย แก้ไขปัญหาการที่รางระบายน้ำอุดตัน สังเกตุทางเดินของมดเพราะจะนำพาไปสู่รังของพวกมัน อาจสังเกตุกิจกรรมของมดในเวลากลางคืนเพราะมีมดหลายชนิดที่ออกมาในช่วงเวลากลางคืน เพื่อเป็นการจัดการมด อาจจะนำอาหารไปวางล่อ เช่น ใช้นมผสมน้ำตาล หรือขนมปังตัดแบ่งบาง ๆ หลังจากนั้นตามทางมดงานไปที่รัง หลังจากพบรังมดแล้วใช้สารกำจัดแมลง หรือผงดูดความชื้นกำจัดแมลงฉีดพ่นเข้าไปในรัง ผงดูดความชื้นจะทำลายแมลงได้โดยเมื่อมดได้รับผงดูดความชื้น จะทำให้มดแห้งและตายในที่สุด แต่การใช้ผงดูดความชื้นนั้นจะออกฤทธิ์ช้า สามารถควบคุมมดไม้ได้และสามารถจัดการกับสามาชิกตัวอื่น ๆ ได้ภายในรัง เช่นเดียวกับเหยื่อพิษที่ผสมกับอาหาร มดไม้จะนำเอาเหยื่อพิษเข้าไปในรังแล้วแบ่งปันให้กับสมาชิกตัวอื่น ๆ ภายในรัง จำทำให้มดไม้ที่อยู่ภายในรังนั้นถูกกำจัด