โทรหาเรา : + 66 2894 1833
Product Banner
ผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว :
ourdistributer
ourdistributer
ความรู้เกี่ยวกับแมลง
มด
Antsมดพบได้โดยทั่วไป ทั่วโลกจัดจำแนกชนิดแล้วมากกว่า 12,000 ชนิด มดที่เป็นแมลงศัตรูได้แก่ มดอาร์เจนตินา (Argentine ant, +Linepithema humile) มดละเอียด (Pharoach ant, Monomorium pharaonis) มดเหม็น (The Odorous House ant, Tapinoma sessile) มดคันไฟThe thief ant (Solenopsis molesta) และ มดคันไฟ The southern fire ant (Solenopsis xyloni). มดที่พบเจอและเป็นปัญหาสำคัญได้แก่ มดคันไฟ (Red imported fire ant, Solenopsis invicta)
มดอาร์เจนตินา
มดพบได้โดยทั่วไป ทั่วโลกจัดจำแนกชนิดแล้วมากกว่า 12,000 ชนิด มดที่เป็นแมลงศัตรูได้แก่ มดอาร์เจนตินา (Argentine ant, +Linepithema humile) มดละเอียด (Pharoach ant, Monomorium pharaonis) มดเหม็น (The Odorous House ant, Tapinoma sessile) มดคันไฟThe thief ant (Solenopsis molesta) และ มดคันไฟ The southern fire ant (Solenopsis xyloni). มดที่พบเจอและเป็นปัญหาสำคัญได้แก่ มดคันไฟ (Red imported fire ant, Solenopsis invicta)
ความเสียหาย
การแพร่กระจายของมดนั้น อาจเกิดขึ้นเพราะการแพร่ระบาดของเพลี้ยหอย และเพลี้ยอ่อนซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืช เพลี้ยหอยและเพลี้ยอ่อนสามารถสร้าง honeydew หรือน้ำหวาน ซึ่งเป็นอาหารของมด มดจะอาศัยเพลี้ยหอยและเพลี้ยอ่อนในการหาอาหาร มดยังมีส่วนคอยปกป้อง เพลี้ยอ่อนและเพลี้ยหอยจากศัตรูอีกด้วย
ชีววิทยาและวงจรชีวิต
มดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ (complete metamorphosis) โดยในวงจรชีวิตจะประกอบด้วย ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย
มดนั้นเป็นแมลงสังคมเช่นเดียวกับแมลงในอันดับ Hymenoptera มีการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกให้เห็นชัดเจน
มดนางพญา ทำหน้าที่สืบพันธุ์ สร้าง colony และวางไข่ มดนางพญานั้นจะมีขนาดใหญ่กว่ามดวรรณะอื่น ๆ ภายในรัง บางครั้งอาจทำหน้าที่ให้อาหารและเลี้ยงดูตัวอ่อนได้ด้วย
มดงาน เป็นมดเพศเมีย ทำหน้าที่ออกหาอาหาร รับผิดชอบในการสร้างรังและทางเดิน ปกป้องรังและสมาชิกภายในรังจากศัตรู ดูและตัวอ่อนและราชินี
มดเพศผู้ ไม่มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างรัง โดยทั่วไปจะมีปีก มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับมดนางพญา
มดเพศผู้ส่วนหนึ่งอาจจะถูกเลี้ยงดูด้วยมดงาน
มดมักจะสร้างรังอยู่ในดิน มักจะพบรังอยู่ติดกับตัวอาคาร หรือมักพบรังใกล้กับแหล่งอาหาร เช่น ต้นไม้ หรือพืชที่มีแมลงที่สามารถสร้าง honeydew นอกจากนั้นยังอาจพบเจอรังมดใต้ตอไม้ ใต้หิน ใต้สิ่งปลูกสร้าง หรือสถานที่ที่ปลอดภัย ไม่มีการรบกวนจากศัตรู
มดนั้นกินอาหารได้หลากหลายเช่น ผลไม้ เมล็ดพืช ถั่ว อาหารที่มีไขมันเป็นองค์ประกอบ แมลงที่มีชีวิตหรือซากแมลงก็สามารถกินได้ ซากสัตว์ ขนม เป็นต้น มดต่างต่างชนิดกัน อาจจะกินอาหารต่างชนิดกัน
การที่มดเข้าไปภายในอาคาร หรือที่อยู่อาศัยนั้นเพื่อที่จะหาอาหาร แหล่งน้ำ แหล่งพักพิงอบอุ่น หลบภัยจากสภาพอากาศที่ร้อน หรือสภาพน้ำท่วม มดจะหลบเข้าไปภายในอาคารทันที่ที่ภายในอาคารมีแหล่งอาหารและภายนอกนั้นมีสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
การป้องกันกำจัด
มดจะเดินกันเป็นทาง โดยอาศัยฟีโรโมนทำทาง มดจะปล่อยตามทางเดินที่พวกมันเดินผ่านไป เพื่อให้สมาชิกตามไปยังแหล่งอาหารได้ถูกต้อง บ่อยครั้งที่พบเจอมดทำทางเดินใกล้สายไฟ ท่อน้ำ และพบภายในโครงสร้างต่างๆ
การควบคุมมดนั้น อาจทำการอุดรอยแตกรอยแยก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในห้องครัว พื้นที่เตรียมและพื้นที่เก็บอาหาร ทำความสะอาดภาชนะต่างๆ หรือจัดการเก็บกวาดพื้นที่ต่างๆ ให้เรียบร้อย พยายามไม่เก็บขยะไว้ภายในตัวอาคาร พืชที่พบเจอเพลียหอย เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สามารถสร้าง honeydew ได้ อาจพบเจอรังมดในบริเวณนั้นด้วย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ ไม้พุ่มติดกับตัวอาคาร การควบคุมมดที่พบเจอภายใน และรอบๆโครงสร้างของอาคารอีกวิธีหนึ่งคือการใช้เหยื่อพิษ เหยื่อพิษเป็นสารป้องกันกำจัดแมลงอาจจะเป็นสูตรของแข็งหรือของเหลว อาจใช้คู่กับสถานีกำจัดมด ในกรณีของของแข็งมดจะสามารถนำเหยื่อกลับไปที่รังได้ และกระจายเหยื่อให้กับสมาชิกภายในรัง ทำให้สมาชิกภายในรังตายในที่สุด ในการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดมดนั้น อาจใช้ในลักษณะเพื่อป้องกันหรือตัดทางเดินไม่ให้มดเข้ามาในบ้าน โดยใช้ขวางกั้นบริเวณกรอบประตู หน้าต่าง รอยแตกของบ้าน ทางเดินระหว่างกำแพงกันพื้นบ้าน สารเคมีที่ใช้อาจเป็นสารเคมีที่อยู่ในรูปผง ในกรณีที่ไม่สามารถค้นหารังของมดได้ อาจใส่สารเคมีบริเวณที่คิดว่าใกล้กับรังมากที่สุด สารเคมีที่ใช้ควรเป็นสารเคมีประเภทผง เนื่องจากสามารถฟุ้งกระจายเข้าไปข้างในได้ดี มีฤทธิ์ตกค้างได้นาน และมดสามารถขนกลับไปที่รังได้
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มดเข้ามาภายในอาคาร สามารถใช้วิธีฉีดพ่นเป็นจุดเล็ก ๆ รอบๆอาคารเพื่อป้องกันไม่ให้มดเข้ามาภายในอาคาร มันเป็นวิธีการโดยทั่วไปที่ใช้ป้องกันไม่ให้มดเข้ามาภายในตัวอาคารคือการฉีดพ่นรอบๆบริเวณ เพื่อเป็นการป้องกัน แต่ถ้าต้องการที่จะควบคุมรังมดที่อยู่ภายนอกอาคาร ให้มุ่งควบคุมไปที่นางพญาและตัวอ่อนภายในรัง การที่กำจัดแต่เพียงมดงานความสามารถในการร่มรังนั้นมีเพียง 1 เปอร์เซนต์เท่านั้น เพราะว่าก็ยังมีมดงานตัววอื่นที่หาอาหารให้นางพญาและตัวอ่อน
มดไม้ Carpenter Ant
มดไม้เป็นมดชนิดหนึ่งที่มองด้วยตาเปล่าได้ชัดเจน พบอาศัยอยู่รอบ ๆ บ้านและที่อยู่อาศัย เป็นมดที่มีขนาดใหญ่โดยทั่วไปมีสีดำหม่น หรือดำ มดไม้จำแนกออกจากมดชนิดอื่นได้ง่ายเนื่องจากขนาดของลำตัวที่ใหญ่ประมาณ ½ นิ้ว มดไม้ไม่สามารถใช้เหล็กไนในการต่อยศัตรูได้แต่จะใช้ขากรรไกรในการกัดศัตรูเพื่อสร้างความเจ็บปวด และยังสามารถปล่อยกรด formic acid เมื่อถูกรบกวนได้อีกด้วย วรรณสืบพันธุ์ จะเป็นมดที่มีปีก จะทิ้งรังไปเพื่อผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ ทำให้บางครั้งเกิดความสับสันระหว่างแมลงเม่าปลวก กับมดวรรณสืบพันธุ์
ความเสียหาย
มดไม้ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเพราะว่าสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างต่าง ๆ และยังสามารถปนเปื้อนไปกับอาหารได้ด้วย จึงทำให้เป็นที่น่ารังเกียจและไม่ต้องการให้มีมดไม้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร มดไม้ที่อาศัยอยู่ภายในอาคารอาจสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างหรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ แต่ก็ยังสร้างความเสียหายไม่เท่าปลวก
ชีววิทยาและวงจรชีวิต
มดไม้สามารถกินแมลงได้ทั้งที่มีชีวิตและซากแมลง กินน้ำหวานจากเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยหอย หรือน้ำหวานจากผลไม้สุก มดไม้จะสร้างรังในไม้ รังมดไม้มีลักษณะค่อนข้างจะคล้ายกับรังปลวกแต่สามารถแยกได้โดย รังมดไม้จะสะอาดและมีผิวรังคล้ายกระดาษทราย แมลงเม่ามดจะออกจากรังเพื่อผสมพันธุ์ในฤดูใบไม้ผลิ แต่ก็อาจจะผสมพันธุ์กันในช่วงเวลาอื่นของปีได้เช่นกัน โดยปกติแล้วหนึ่งรังจะมีนางพญาวางไข่แต่เพียงผู้เดียว โดยทั่วไปในการสร้าง colonyใช้เวลาประมาณ 3-6 ปี จะมีประชากรประมาณ 2000-3000 ตัว แมลงเม่ามดจะมีประมาณ 200-400 ตัว รอที่จะออกจากรังเพื่อทำการสร้าง colony ใหม่
การควบคุม
ทำการอุดรอยแตกรอยแยกต่างในทุกที่ที่เป็นไปได้ กำจัดแหล่งอาหารภายในอาหาร หรือใส่อาหารไว้ในภารชนะที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันมด พยายามปรับปรุงสภาพห้องที่ชื้น เพราะเป็นสถานที่เหมาะสมสำหรับมดไม้สร้างรัง เปลี่ยนไม้ที่ผุหรือไม้ที่เสียหาย แก้ไขปัญหาการที่รางระบายน้ำอุดตัน สังเกตุทางเดินของมดเพราะจะนำพาไปสู่รังของพวกมัน อาจสังเกตุกิจกรรมของมดในเวลากลางคืนเพราะมีมดหลายชนิดที่ออกมาในช่วงเวลากลางคืน เพื่อเป็นการจัดการมด อาจจะนำอาหารไปวางล่อ เช่น ใช้นมผสมน้ำตาล หรือขนมปังตัดแบ่งบาง ๆ หลังจากนั้นตามทางมดงานไปที่รัง หลังจากพบรังมดแล้วใช้สารกำจัดแมลง หรือผงดูดความชื้นกำจัดแมลงฉีดพ่นเข้าไปในรัง ผงดูดความชื้นจะทำลายแมลงได้โดยเมื่อมดได้รับผงดูดความชื้น จะทำให้มดแห้งและตายในที่สุด แต่การใช้ผงดูดความชื้นนั้นจะออกฤทธิ์ช้า สามารถควบคุมมดไม้ได้และสามารถจัดการกับสามาชิกตัวอื่น ๆ ได้ภายในรัง เช่นเดียวกับเหยื่อพิษที่ผสมกับอาหาร มดไม้จะนำเอาเหยื่อพิษเข้าไปในรังแล้วแบ่งปันให้กับสมาชิกตัวอื่น ๆ ภายในรัง จำทำให้มดไม้ที่อยู่ภายในรังนั้นถูกกำจัด
แมลงสาบ
Cockroaches
แมลงสาบสามารถพบเจอได้ทั่วโลก เป็นแมลงศัตรูที่สามารถพบเจอได้ทั้งในสวนสัตว์ ปศุสัตว์ ท่อระบายน้ำ ระบบท่อไอน้า
แมลงสาบอเมริกัน (American Cockroach)
ลำดับชั้นทางอนุกรมวิธาน
Class: Insecta
Order: Blattodea
Family: Blattidae
Scientific name: Periplaneta americana
แมลงสาบอเมริกัน Periplaneta americana ชอบสภาพอากาศที่อบอุ่นและชื้น เป็นแมลงที่สามารถพบได้ทั่วไปในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน ภายใต้สภาพอากาศที่เหมาะสมทำให้พวกมันสามารถใช้ชีวิตอยู่ข้างนอกได้ และนอกจากนั้นแมลงสาบอเมริกันจะเป็นแมลงศัตรูที่พบเจอภายในสวนสัตว์ และสถานที่เลี้ยงสัตว์ หรือแม้กระทั่งสามารถอาศัยอย่ภายในท่อระบายน้ำ อุโมงค์ต่าง ๆ ได้ ไปจนถึงชั้นล่างของอาคาร แมลงสาบอเมริกันก็สามารถอาศัยอยู่ได้
วงจรชีวิต
ตัวเต็มวัยเพศเมียจะเลี้ยงดูกระเปาะไข่แมลงสาบประมาณ 6 วัน หลังจากนั้นจึงวางกระเปราะไข่ตามสถานที่ต่าง ๆ กระเปราะไข่ใช้เวลา 1-1.5 เดือน หรือนานกว่านั้นในการฟักออกมาเป็นแมลงสาบตัวอ่อน กระเปราะไข่มีความกว้างประมาณ 8 มม. สีน้ำตาลแดงหลังจากที่วางกระเปราะไข่ไปแล้ว 1-2 วันจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ในแต่ละกระเปราะไข่มีไข่อยู่ประมาณ 14-28 ฟอง ในเวลาหนึ่งปีตัวเต็มวัยเพศเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 800 ฟอง การพัฒนาจากไข่ไปจนถึงตัวเต็มวัยนั้นเวลาอาจจะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ตัวอ่อนพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลา 150 วัน และลอกคราบประมาณ 10-13 ครั้ง
สามารถพบเจอแมลงสาบอเมริกันได้ที่ไหนบ้าง?
เป็นสายพันธุ์ที่พบเจอในบ้านเรือน เมื่ออยู่ภายในอาคาร จะพบเจอบ่อย พบเจออยู่รวมกันมากกว่า พบเจอในสถานที่มืด อุ่นและชื้น เช่นในพื้นที่ชั้นใต้ดิน บริเวณรอบๆอ่างอาบน้ำ ท่อระบายน้ำและบนพื้นที่ชื้น
แมลงสาบอเมริกันอาจพบเจอบริเวณใกล้ๆกับถังขยะ รอบๆท่อระบายน้ำ และยังสามารถเคลื่อนย้ายไปจากอาคารหนึ่งสู่อาคารหนึ่งได้
การป้องกันกำจัด
เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องทำการตรวจสอบในพื้นที่ที่มีการระบาดของแมลงสาบรวมถึงสถานที่ใกล้เคียง
การฉีดสารเคมีชนิดตกค้างรอบ ๆ บริเวณอาคารเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้แมลงสาบเข้ามาภายในอาคารสามารถช่วยในการป้องกันแมลงสาบได้ การจำแนกชนิดของแมลงสาบในบริเวณใกล้เคียง (อาจใช้กับดักกาวเหนียว) และใช้วิธีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงสาบในบริเวณนั้น ๆ
การปิดช่องแตก รอยแยกบริเวณภายในอาคารสามารถช่วยลดไม่ให้แมลงสาบเข้ามาภายในอาคารได้
อาจใช้เหยื่อพิษในการป้องกันกำจัดแมลงสาบอเมริกันได้ โดยวางเหยื่อพิษให้พอเพียงกับจำนวนประชากรของแมลงสาบจะทำให้การใช้เหยื่อพิษมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ลักษณะ
ตัวเต็มวัยแมลงสาบอเมริกันมีขนาด 35-40 มม. สีน้ำตาลอมแดง หรือสีน้ำตาลช๊อคโกแลต บริเวณ pronotum จะมีจุดสีดำใหญ่ 2 จุดล้อมรอบด้วยวงเส้นสีเหลือง รูปร่างแบน แบนส่วนท้องและส่วนสันหลัง
ตัวอ่อนจะมีสีน้ำตาลอมเทา หลังจากการลอกคราบ ตัวอ่อนก็จะมีสีที่เข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาลแดงมากขึ้น
แมลงสาบเฟอร์นิเจอร์ (Brown-banded Cockroach)
ลำดับชั้นทางอนุกรมวิธาน
Class: Insecta
Order: Blattodea
Family: Blattellidae
Scientific name: Supella longiplapa
แมลงสาบเฟอร์นิเจอร์ Supella longipalpa เป็นแมลงสาบขนาดเล็ก เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดจากแอฟริกา
ลักษณะ
ตัวเต็มวัยแมลงสาบเฟอร์นิเจอ มีขนาดเล็ก โดยปกติแล้วมีขนาดไม่เกิด 11-14.5 มม. ปีกของตัวเมียจะสั้นและกลมกว่าของตัวผู้ ขอบปีกหน้ามีแถบสีน้ำตาลอ่อนพาดตามแนวขวางสองแถบ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม
ตัวอ่อนจะพบเจอ pale lateral บริเวณส่วนอก
วงจรชีวิต
เพศเมียจะเลี้ยงดูกระเปราะไข่ประมาณ 1-2 วันหลังจากนั้นจะนำกระเปราะไข่ไปวางไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่นเฟอร์นิเจอร์
โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละกระเปราะไข่มีไข่ประมาณ 16 ฟอง ซึ่งจะฟักไข่ประมาณ 2 เดือนต่อครั้ง ตัวอ่อนใช้เวลาในการเจริญเติบโตประมาณ 2 เดือนส่วนตัวเต็มวัยนั้นมีอายุอยู่ได้ประมาณ 3-4 เดือน
สามารถพบเจอแมลงสาบเฟอร์นิเจอร์ได้ที่ไหนบ้าง?
ส่วนมากจะพบเจอในบ้าน อพาร์ทเมนต์ หรือโรงแรม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยแมลงสาบเฟอร์นิเจอร์ อาจพบเจอได้บนเพดา หรือพนัง แม้กระทั้งมอเตอร์ตู้เย็นก็สามารถพบเจอได้เช่นกัน
การป้องกันกำจัด
เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องทำการตรวจสอบในพื้นที่ที่มีการระบาดของแมลงสาบรวมถึงสถานที่ใกล้เคียง (สถานที่ที่อบอุ่น)
การฉีดสารเคมีชนิดตกค้างรอบ ๆ บริเวณอาคารเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้แมลงสาบเข้ามาภายในอาคารสามารถช่วยในการป้องกันแมลงสาบได้ การจำแนกชนิดของแมลงสาบในบริเวณใกล้เคียง (อาจใช้กับดักกาวเหนียว) และใช้วิธีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงสาบในบริเวณนั้น ๆ
แมลงสาบเยอรมัน (German cockroach)
ลำดับชั้นทางอนุกรมวิธาน
Class: Insecta
Order: Blattodea
Family: Blattidae
Scientific name: Blatella germanica
แมลงสาบเยอรมันในเป็นแมลงสาบที่สร้างความกังวลให้กับมนุษย์ อุจจาระและสารคัดหลั่งของแมลงสาบเยอรมันสามารถปนเปื้อนไปกับอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหาร ยังสามารถนำเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อน สามารถก่อให้เกิดการแพ้อย่างรุนแรงกับมนุษย์ได้อีกด้วย เคยมีรายงานว่าแมลงสาบเยอรมันสามารถกัดมนุษย์และกินอาหารบริเวณใบหน้าของมนุษย์ในขณะที่มนษย์หลับ
ลักษณะ
เต็มเต็มวัยมีสีซีดถึงน้ำตาลอ่อนๆขนาดประมาณ 10-15 มม. เพศผู้สีน้ำตาลอมเหลืองและมี supra anal plate ที่ยาว ในขณะที่เพศเมียสีเข้มกว่าและมีส่วนท้องที่ใหญ่กว่า ทั้งสองเพศนั้นมีปีกที่พัฒนาดีแต่มักจะไม่ค่อยบิน
ตัวอ่อนสีเข้ม pronotum มีสีพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีแถบสีดำ 2 แถบพาดขนานตามแนวยาวของลำตัว
วงจรชีวิต
แมลงสาบเยอรมันเป็นแมลงสาบที่พบเจอบ่อยที่สุด เพศเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 30,000 ฟองต่อปี หลายครั้งที่พวกมันกินกันเองเพราะว่ามีจำนวนประชากรมากเกินไป เพศเมียจะวางไข่บ่อยในช่วงอากาศร้อน เพศเมียจะดูแลกระเปราะไข่จนกระทั้ง ใกล้เวลาก่อนที่ไข่จะฟัก 1-2 วัน (กระเปราะไข่ยาวประมาณ 7-9 มม.) แต่ละกระเปราะไข่มีไข่ประมาณ 30 ฟอง เพศเมียสามารถวางไข่ใหม่ได้ทุกสองสัปดาห์
ตัวอ่อนใช้เวลาในการเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 30 วัน และจะลอกคราบประมาณ 6-7 ครั้ง ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 100 วัน
จะสามารถพบเจอแมลงสาบเยอรมันได้ที่ไหนบ้าง?
พวกมันจะออกหากินในช่วงค่ำ และจะหลบซ่อนตัวตามรอยแตกรอยแยกในช่วงกลางวัน โดยปกติแล้วแมลงสาบเยอรมันจะหลบซ่อนตัวในบริเวณที่มีความชื้นและเป็นแหล่งอาหาร สามารถพบเจอพวกมันได้ตามร้านอาหาร โรงแรม อพาท์เมนต์ พื้นที่ที่มืด แม้กระทั้งหลังตู้เย็น
โดยทั่วไปพวกมันชอบเกาะบนวัสดุทีทำจากไม้มากกว่าวัสดุที่ทำจากโลหะหรือวัสดุที่มีผิวเรียบ อาจจะพบเจอเกาะบนวัสดุที่ทำจากโลหะบ้างในกรณีที่มีจำนวนประชากรมาก มีที่พักเกาะไม่เพียงพอ
การป้องกันกำจัด
การทำความสะอาดบริเวณต่างๆนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมแมลงสาบ เช่นทำความสะอาดบริเวณที่เตรียมอาหาร หลีเลี่ยงการวางจานชามในอ่างล้างจานทิ้งไว้ข้ามคืน เก็บอาหารในภาชนะที่ปิดมิดชิด ปิดให้สนิท ล้างขวดน้ำหวานก่อนที่จะนำไปทิ้งถังขยะ อาหารสัตว์ไม่ควรมีเหลือไว้ในจานและทิ้งไว้ข้ามคืน
การใช้ยาฆ่าแมลงนั้นเป็นอีกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงสาบ แต่ก็ควรที่จะทำร่วมกันกับการรักษาความสะอาดในบริเวณนั้น ๆ การใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
เหยื่อพิษกำจัดแมลงสาบนั้นมีหลายสูตรเช่น pastes เจล เม็ด แม้กระทั้งผง เหยื่อพิษที่นิยมใชกันมากในบ้านคือเหยื่อพิษที่มาพร้อมกับสถานีพลาสติกขนาดเล็ก หรืออยู่ในรูปแบบของเหยื่อพิษบนกระดาษแข็งที่มีส่วนผสมของอาหารเพื่อที่จะดึงดูดแมลงสาบ ผสมกับสารฆ่าแมลง การใช้เหยื่อพิษชนิดเจลนั้นเหมาะสำหรับหยดในรอยแตกรอยแยก จะเห็นได้ว่าเหยื่อพิษนั้นมีประสิทธิภาพมากในการควบคุมแมลงสาบในระยะยาว
นก
Bird
นกสายพันธุ์ที่มักพบว่าเป็นปัญหารบกวนบ้านเรือนได้แก่ นกพิราบ นกกระจอก และนกนางนวล บริษัท เบ็นท์ เจ๊ส (ไทยแลนด์) จำกัด ได้จัดหาผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อขับไล่นกเหล่านี้ ไม่ให้มาพักเกาะและทำรังในตัวอาคาร ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาด้านทัศนีย์ภาพ และมูลของนกทำให้อาคารแลดูสกปรก ผลิตภัณฑ์สำหรับป้องกันกำจัดนกที่บริษัท ฯ นำเสนอได้แก่ ระบบตาข่ายดักนก Spiking เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยไม่ให้นกสามารถมาพักเกาะได้ และอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากมาย
ยุง
Mosquitoes
ยุงพาหะนำโรคเป็นที่รู้จักกันดี เพราะว่าเป็นส่วนหนึ่งของโลกนี้ โรคมาลาเลีย ก็เช่นกันเป็นที่รู้จักกันมาอย่างยาวนานว่าเป็นโรคที่ติดต่อโดยยุงพาหะนำโรค ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยรวมถึงสภาพแวดล้อม ยุงก็จึงปรับตัวไปอยู่ตามแหล่งปศุสัตว์ และแทบจะไม่กินเลือดของมนุษย์เท่าไหร่ ในประเทศอังกฤษ สภาพอากาศไม่เหมาะสมต่อการเกิดโรคเขตร้อน เช่น โรคเท้าช้าง โรคไข้เหลือง โรคไข้เลือดออก ยุงพาหะนำโรคบางชนิดเป็นสาเหตุทำให้เกิดไข้ต่ำ ๆ พบเจอกันทางใต้ และภาคกลางของยุโรป ยุงที่พบเจอในอังกฤษ พบเจอในบางกรณีที่สร้างอาการปวดเมื่อยให้กับร่างกาย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการควบคุมยุงอย่างถูกต้อง
ยุงลาย Aedes Mosquito
ยุงจัดอยู่ในอันดับ Diptera เช่นเดียวกับแมลงวัน ยุงมีรูปร่างผอมเรียว มีขาที่ยาว มีปีกสองปีกความยาวประมาณ 1/8-1/4 นิ้ว ยุงรูปร่างไม่เหมือนแมลงวันเพราะปีกและลำตัวจะปกคลุมไปด้วยเกล็ดและมีส่วนปากที่ยาว ปากเป็นแบบแทงดูด ไข่ของยุงลายโดยทั่วไปมีสีดำวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ไข่เมื่อสัมผัสกับน้ำ ตัวอ่อน หรือลูกน้ำยุงนั้นก็จะฟักออกจากไข่ภายในชั่วเวลาไม่กี่นาที ลูกน้ำยุงลายมีท่อหายใจรูปร่างคล้ายถังสั้น ๆ ตัวเต็มวัยมีขาสีดำสลับขาว ยุงลายมีสองชนิดที่สำคัญคือ ยุงลายบ้าน Aedes aegypti และยุงลายสวน Aedes albopictus ยุงลายทั้งสองชนิดนี้เป็นยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบ้านส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้นมาและมีน้ำขังทำให้ยุงลายบ้านเข้าไปวางไข่ เช่น กระถาง แจกันใส่น้ำ ไข่ยุงลายสามารถอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำได้เป็นเวลาหลายปี วงจรชีวิตของยุงลาย จากไข่เป็นตัวเต็มวัยเร็วที่สุด 7 วัน แต่โดยทั่วจะอยู่ที่ประมาณ 10-12 วัน ยุงลายส่วนใหญ่จะออกหากินในช่วงมืดและยามเช้า
ยุงรำคาญ Culex Mosquito
ลักษณะ
ยุงรำคาญ สามารถพบเจอได้โดยทั่วไป โดยจะมีระยะไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่งและตัวเต็มวัย ยุงรำคาญมีสีน้ำตาลถึงน้ำตาลแก่ ยุงรำคาญจะไม่มีแถบสีขาวบริเวณส่วนท้องเมื่อเปรียบเทียบกับยุงลาย ยุงรำคาญตัวเต็มวัยเพศเมียจะมีความกว้างของ maxillary palps น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความกว้างของ proboscis เมื่อเปรียบเทียบกับยุงก้นปล่องที่มี maxillary palps ยาวเท่ากับ proboscis ตัวเต็มวัยยุงรำคาญและยุงลายจะเกาะพัก โดยที่ลำตัวจะขนานกับพื้นผิว ส่วนยุงก้นปล่องจะเกาะพักโดยที่ส่วนท้องทำมุม 45 องศาจากพื้นผิว
ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของยุงรำคาญ ที่แตกต่างจากยุงชนิดอื่นคือการวางไข่ ตัวเต็มวัยเพศเมียยุงรำคาญจะวางไข่เป็นแพบนผิวน้ำ ส่วนยุงชนิดอื่น ๆ จะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ไข่ของยุงรำคาญเมื่อวางใหม่ๆจะมีสีขาวต่อมาจะเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาลออกไปทางสีดำ หลังจากนั้น 1-2 วัน ตัวอ่อนก็เริ่มที่จะฟังตัวออกมา การจำแนกยุงในระยะลูกน้ำนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่ก็สามารถทำได้โดยอาศัยท่อหายใจหรือที่เรียกกันว่า siphon ลูกน้ำยุงก้นปล่องไม่มีท่อหายใจ ในขณะที่ลุกน้ำยุงลายมี siphonที่สั้น เมื่อเปรียบเทียบกับลูกน้ำยุงรำคาญ ความแตกต่างระหว่างตัวโมงของยุงรำคาญกับยุงชนิดอื่น ๆ จำแนกได้ค่อนข้างยาก ต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ในการจำแนกชนิด
ยุงก้นปล่อง Anopheles Mosquito
ยุงก้นปล่อง เป็นยุงอีกชนิดนึงที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่มนุษย์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ Plasmodium เช่น Plasomodium falciparum, Plasomdium vivax, Plasmodium malariae และ Plasmodium ovale ทำให้เกิดโรคมาลาเรียกับมนุษย์
ลักษณะ
ยุงก้นปล่อง มีปีกเป็นจุด ๆ สีเข้มซึ่งเป็นส่วนของ pale scales ที่เป็นช่อง อยู่ภายในเส้นปีก ความยาวและจำนวนของ pale scales และพื้นที่สีเข้มหรืออ่อนที่แตกต่างกันในยุงก้นปล่องนั้น สำคัญอย่างมากในการใช้จัดจำแนกชนิด ซึ่งจะแตกต่างกับ sub family culicinae ส่วนของ abdomen จะไม่ค่อยปรากฏ scales ทั้งด้าน dorsal และ ventral ทั้งเพศผู้และเพศเมียส่วนของ palps จะยาวเท่ากับส่วนของ probosics
ยุงยักษ์ Toxorhynchites Mosquito
ยุงในวงศ์ย่อยนี้มีเพียง สกุลเดียวคือ Toxorhynchites ซึ่งมีประมาณ 76 ชนิด อาศัยอยู่ในเขตร้อนเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่พบใน อเมริกาเหนือ รัสเซีย และญี่ปุ่น
ลักษณะ
ตัวผู้มีขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 19 มม. ปีกยาวประมาณ 24 มม. และมีสีสันสดใส เช่นสีฟ้าเมทาลิค หรือเสียเขียวเข้มปนดำ สีขาวหรือสีแดง เป็นต้น ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีปลายปากโค้งงอจึงดูดกินเลือดไม่ได้ แต่จะกินน้ำหวานจากดอกไม้หรือผลไม้เท่านั้น ดังนั้นยุงในสกุลนี้จึงไม่มีความสำคัญทางการแพทย์
ลูกน้ำยุงยักษ์เป็นตัวห้ำ กินลูกน้ำยุงชนิดอื่น จึงมีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เอาลูกน้ำยุงยักษ์ไปปล่อยในแหล่งน้ำเพื่อที่จะให้ช่วยกำจัดลุกน้ำยุงพาหะนำโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงพาหะนำโรค โดยส่วนใหญ่จะพบลูกน้ำยุงยักษ์ได้ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่นภาชนะ โพรงในต้นไม้ ตอไม้ กระบอกไม้ไผ่ เป็นต้น
ยุงเสือ Mansonia  Mosquito
ยุงในสกุลนี้ ที่สำคัญและเป็นตัวการนำโรคเท้าช้าง (Filariasis) ซึ่งเกิดจากเชื้อ Brugia malayi ยุงลายเสือยังสามารถถ่ายทอดโรคสุ่สัตว์ได้ ภายหลังพบว่ายุงลายเสือสามารถเป็นพาหะนำเชื้อดังต่อไปนี้เช่น Brugia, Dirofilaria และ Setaria
ยุงเสือ Mansonia อยู่ใน subgenus Mansonioides 6 สายพันธุ์สามารถพบเจอได้ทางตะวันออกของเอเชีย อีก 3 สายพันธุ์พบในปาปัวนิวกินี และอีกหนึ่งสายพันธุ์พบเจอได้แถบเอธิโอเปีย ยุงเสือสายพันธุ์ Mansonia dives และ Mansonia bonneae ทั้งสองสายพันธุ์นี้มึความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดทั้งทางสันฐานวิทยา จากรายงานก่อนหน้านี้อาจจะเรียกชื่อของทั้งสองสายพันธุ์นี้ว่า Ma. longipalpis หรือ Ma. annulipes.
ลักษณะ
ยุงเสือ 6 สายพันธุ์สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่คือ The Urban-rural type ซึ่งประกอบด้วย Ma. uniformis, Ma. annulifera, Ma. indiana and Ma. Annulata ซึ่งมีแหล่งเพาะพันธุ์ได้แก่ ตามแหล่งเพาะปลูกพืช ท่อระบายน้ำ บ่อน้ำร้าง เป็นต้น ส่วนอีกกล่มหนึ่งได้แก่ Ma. bonneae and Ma. dives แหล่งเพาะพันธุ์จะอยู่ตามป่าพรุ
ลูกน้ำยุง Mosquito Larvae
ลุกน้ำยุงส่วนมากจะสีน้ำตาล ดำ หรือเทา และจะมีท่อหายใจอยู่ตรงปลายลำตัว
ยุงมีการเจริญเติบโตอยู่ 4 ระยะด้วยกันคือไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง และตัวเต็มวัย ไข่ปกติจะฟักออกมาเป็นลูกน้ำยุงภายใน 48 ชั่วโมง ลูกน้ำยุงจะต้องอาศัยอยู่ในน้ำประมาณ 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ ระหว่างนั้นลุกน้ำยุงจะลอกคราบ 3 ครั้งและจะโตขึ้นประมาณ 1 ซม. หลังจากลอกคราบครั้งที่ 4 จะเข้าสู่ตัวโม่ง ตัวโม่งมีน้ำหนักเบาและลอยบนผิวน้ำได้ดี ระยะตัวโม่งจะไม่กินอาหาร ภายใน 1-4 วัน ตัวโม่งก็จะกลายเป็นยุง และจะเกาะพักบนผิวน้ำเพื่อให้ร่างกายแห้งแล้วจึงบินออกไป
แหล่งที่พักอาศัย
ลูกน้ำอาศัยอยู่ในน้ำนิ่ง
ขนาด
ลูกน้ำยุงมีขนาด 5-13 มม. ตัวเต็มวัยขนาด 1-1.5 ซม.
แมลงวัน
Flies
ที่อังกฤษมีแมลงวันเป็นพันสายพันธุ์ แต่ก็มีจำนวนมากที่พบเจอในป่าและไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ แมลงวันที่สร้างปัญหากับมนุษย์ได้แก่แมลงวันคลัสเตอร์และแมลงวันบ้าน ช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงแมลงวันคลัสเตอร์ไม่ได้สร้างปัญหาและไม่ได้มายุ่งเกี่ยวกับมนุษย์ แต่จะพบเจอในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาว ถ้าเจอในปริมาณน้อยก็อาจจะไม่สร้างผลกระทบมากมายกับมนุษย์ แต่โชคร้ายที่ไม่ใช่ บางครั้งเราจะเจอมันอยู่เป็นจำนวนมาก เราจะได้กลิ่นเหม็นของพวกมัน ในวันที่อบอุ่นและมีแดด แมลงวันจะออกมาจากแหล่งหลบซ่อน และอาจบินไปยังหน้าต่าง ทำให้เกิดความรำคาญจากเสียงกระพือปีกของพวกมันนั่นเอง ส่วนแมลงวันบ้านเป็นสาเหตุแห่งความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรคเช่นอาหารเป็นพิษและโรคบิด
แมลงวันบ้าน House fly
แมลงวันบ้าน Musca domestica เป็นแมลงที่มีความใกล้ชิดกับคนและสัตว์เลี้ยง แมลงวันบ้านมีความยาวประมาณ 5.5 มม. มีสีเทา มีลายเป็นเส้นสี่เส้นบริเวณอก แมลงวันบ้านมีปากแบบซับดูด เพราะฉะนั้นจึงกินได้แต่ของเหลว แต่อย่างไรก็ตามอาจจะกินของแข็งบ้างก็ได้เช่น น้ำตาล แป้ง เกสรดอกไม้ โดยจะปล่อยน้ำย่อยจากต่อมน้ำลายมาย่อยอาหารก่อน
ความเสียหาย
แมลงวันบ้านไม่สามารถกัดได้ก็จริง แต่มันเป็นแมลงพาหะนำโรคต่างๆได้เช่นท้องเสีย อหิวาตกโรค โรคคุดทะราด โรคบิด โรคตาแดง แมลงวันบ้านเป็นพาหะนำเชื้อ Shigella และ Salmonella ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ
ชีววิทยาและวงจรชีวิต
ภายในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแมลงวันบ้านสามารถ ขยายพันธุ์ได้สูง เพราะว่าแมลงวันบ้านมีวงจรชีวิตที่สั้นและสามารถวางได้ทีละหลาย ๆ ฟอง เพศเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 150 ฟอง ไข่แมลงวันบ้านจะถูกวางในสภาพอากาศที่อบอุ่น ชื้น และเป็นแหล่งอินทรีย์วัตถุเช่น ปุ๋ยคอก ขยะ ผักผลไม้ที่เน่า หรือแม้กระทั้งดินที่มีส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมไข่จะฟังออกมาภายในหนึ่งวัน ตัวหนอนแมลงวันบ้านจะมีสีครีม และจะพัฒนาภายในหนึ่งสัปดาห์ หลังจากนั้นจะเข้าเป็นดักแด้ ดักแด้ใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน จากนั้นก็จะกลายเป็นตัวเต็มวัยแล้วมีชีวิตได้อีก 2 สัปดาห์ ในช่วงหน้าร้อน แมลงวันบ้านสามารถวางไข่ได้ถึง 10-12 รุ่น
การควบคุม
การควบคุมแมลงวันบ้านส่วนใหญ่จะไม่นิยมใช้สารเคมี การควบคุมโดยวีธีกลเป็นวิธีการที่แนะนำอันดับแรกในการควบคุมแมลงวันบ้าน โดยส่วนใหญ่จะเห็นได้ว่าแมลงวันบ้านที่อยู่ภายในอาคารนั้นส่วนมากจะมาจากภายนอกทั้งนั้น สำหรับผู้ประกอบกิจการต่าง ๆ อาจจะใช้ Air door เป็นแนวป้องกันไม่ให้แมลงวันเข้ามาภายใน กับดักแสงไฟก็ยังคงใช้ในการจัดการกับแมลงวันบ้านได้ ไม้ตีแมลงวันก็มีประสิทธิภาพดีเหมาะสำหรับใช้ภายในบ้าน ภายนอกบ้านหมั่นกำจัดสิ่งปฏิกูลหรืออินทรีย์วัตถุ (อย่างน้อยสองครั้งต่อสัปดาห์) เช่นอุจจาระสุนัข เพื่อเป็นการลดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันบ้าน ขยะสดควรที่จะเก็บไว้ภายในถังขยะที่มีฝาบิดมิดชิด โดยทั่วไปแล้วการไม่เอาใจใส่ในเรื่องของความสะอาดนั้นเป็นปัจจัยหลักในการทำให้เกิดปัญหาแมลงวัน การใช้ Fly papers หรือ Fly ribbons นั้นมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงวันได้ไม่กี่ชนิด แต่ไม่สามารถกำจัดในกรณีที่มีจำนวนประชากรเยอะ ๆได้ การเลือกใช้สารเคมีนั้นก็เป็นอีกทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาแมลงวันระบาด การกำจัดแมลงวันภายในอาคารสามารถใช้สารเคมีชนิด aerosol เหยื่อกำจัดแมลงวันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถกำจัดแมลงวันได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรที่จะทำควบคู่กับการรักษาความสะอาด
แมลงหวี่ขน
Order: Diptera
Family: Psychodidae
Common Name: แมลงหวี่ขน
การจัดจำแนก
ตัวเต็มวัยมีขนาดประมาณ 1.5 มม. มีขนละเอียดเป็นฝอยปกคลุมร่างกาย มีสีเหลืองอ่อน สีเทาน้ำตาลไปจึงถึงสีดำ ขึ้นอยู่กับชนิดที่พบเจอ มีหนวดหนึ่งคู่ เวลาเกาะพักจะหุบปีกเป็นหลังคาอยู่เหนื่อลำตัว ปลายปีกแหลม ลำตัวปกคลุมด้วยขนจำนวนมาก หนวดยายและมีขนปกคลุมปล้องละ 1 วง ตัวอ่อนอาศัยอยู่ตามพืชผักผลไม้ที่กำลังเน่าเปื่อย โคลน ต้นมอส น้ำ ที่ชื้นแฉะ บ่อขังน้ำจากท่อระบายน้ำ ระบบกำจัดน้ำโสโครก บริเวณน้ำเสียที่ขังในห้องน้ำ ท่อน้ำทิ้งของอ่างล้างหน้า วงจรชีวิตสั้นประมาณ 21-27 วัน การควบคุม กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น เศษพืชผักผลไม้แอ่งน้ำขัง เป็นต้น
ชีววิทยาและพฤติกรรม
แมลงหวี่ขนมีการเปลี่ยนแปลงรุปร่างแบบสมบูรณ์ คือมีระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยเพศเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 30-100 ฟอง บนพื้นผิวเมือก ตัวอ่อนและดักแด้ก็จะอาศัยอยู่ในเมือกด้วยเช่นกัน ตัวหนอนอาจจะกินสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กบริเวณรอบๆ ไข่จะฟักออกมาภายใน 32-48 ชั่วโมง ระยะหนอนใช้เวลา 8-24 วัน ระยะดักแด้ใช้เวลา 20-40 ชั่วโมง ตลอดวงจรชีวิตใช้เวลาโดยประมาณ 7-28 วัน ขึ้นอยู่กับสถานที่ ตัวเต็มวัยปกติมีชีวิตอยู่ได้ 2 สัปดาห์
ความเสียหายและพาหะนำโรค
แมลงหวี่ขนโดยส่วนมากจะสร้างความรำคาญให้กับมนุษย์
วิธีการควบบคุม
ดูแลและรักษาความสะอาดสถานที่ต่างๆที่เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงหวี่ขนเช่นท่อน้ำทิ้ง ท่อระบายน้ำ ถังขยะ รางระบายน้ำฝน สามารถทำความสะอาดได้โดยการแปรงให้สะอาดไม่ให้มีคราบ เมือก หรือราดด้วยน้ำร้อน ช่วยลดคราบเมือกได้
แมลงวันหลังค่อม Phorid fly
เป็นแมลงวันขนาดเล็ก มีขนาดความยาวของตัวรวมถึงส่วนปีกประมาณ 1/8 นิ้ว ลักษณะโดดเด่นของแมลงวันหลังค่อมคือ อกมีรูปร่างลักษณะค่อม สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แมลงวันหลังค่อมตัวเต็มวัยที่เกาะอยู่ตามพื้นผิววัสดุจะบินหนีอย่างรวดเร็วเมื่อถูกรบกวน
ชีววิทยาและวงจรชีวิต
วงจรชีวิตประกอบไปด้วย ไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย เพศเมียจะวางไข่ประมาณ 20 ฟองต่อครั้ง อาจจะวางไข่ได้ถึง 40 ฟองในเวลา 12 ชั่วโมง ตัวเต็มวัยแมลงวันหลังค่อมสามารถวางไข่ได้ประมาณ 500 ฟอง ไข่มีขนาดเล็กจะวางไข่ไว้ใกล้กับพื้นผิวของอินทรีย์วัตถุ ตัวหนอนจะออกจากไข่ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากกนั้นจะเริ่มกินอาหาร กินประมาณ 8-16 วัน หลังจากนั่นหนอนแมลงวันจะคลานไปยังที่แห้งเพื่อเข้าดักแด้ วงจรชีวิตจากระยะไข่ จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 14 วัน (ภายในสภาพอากาศที่เหมาะสม) แต่อาจใช้เวลานานถึง 37 วัน (ในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม)
แหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่
ตัวเต็มวัยมีสามารถอยู่ได้หลากหลายสถานที่ แต่ส่วนมากชอบอาศัยอยู่ร่วมกับพืชหรืออินทรีย์วัตถุ ตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในแหล่งที่มีอินทรีย์วัตถุที่มีความชุ่มชื้นเท่านั้น การตรวจหาแมลงวันหลังค่อมอาจะมุ่งไปที่ สถานที่พัก ผักและผลไม้ภายนอกอาคาร พื้นที่ที่เป็นแหล่งพักขยะ หรือ พืนที่ที่ไม่ค่อยทำความสะอาด ตามท่อระบายน้ำก็สามารถพบเจอแมลงวันหลังค่อมได้เช่นกัน มันมักจะอาศัยอยู่บริเวณด้านบนของผิวน้ำที่เป็นตะไคร่ เป็นสิ่งปฏิกูล เป็นที่รวมกันของเศษอินทรีย์วัตถุ
การควบคุม
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ และกำจัดแหล่งเพาะพันพันธุ์แมลงวันหลังค่อม อาจใช้กับดักแสงไฟ ช่วยในการดักจับ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด
กำจัดแหล่งที่มีอินทรีย์สาร ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของตัวอ่อนแมลงวันหลังค่อม จะช่วยทำให้ปัญหาการระบาดของแมลงวันหลังค่อมนั้นหมดไป การฉีดพ่นแบบ ULV ก็สามารถช่วยกำจัดตัวเต็มวัยแมลงวันหลังค่อมได้เช่นกัน
แมลงวันแมลงวัน Eyegnat
เต็มเต็มวัยเป็นแมลงที่สร้างความน่ารำคาญ ถึงแม้ว่ามันจะไม่กัด แต่มันจะตอมตามส่วนต่าง ๆ เช่นตา พื้นที่ที่เปียกตามร่างกาย รวมถึงบาดแผล อวัยวะเพศ เป็นสาเหตุของโรค pinkeye หรือโรคตาแดง
ตัวเต็มวัยมีขนาดเล็กประมาณ 1/16 - 1/8 นิ้ว ตัวมีสีเทาจนถึงดำ ปีกใส รูปร่างผอม บางครั้งอาจจะดูคล้ายกับแมลงวันบ้า
บางครั้งอาจจะสับสนกับแมลงวันผลไม้ (Dorsophila) แต่สามารถแยกพวกมันได้จากลักษณะของหนวด แมลงวัน Chloropid มีหนวดแบบ arista
ชีววิทยาและวงจรชีวิต
ตัวเต็มวัยเพศเมียจะใช้อวัยวะวางไข่วางไข่ลงไปในดิน ตัวอ่อนจะเป็นหนอนขนาดเล็กและในระยะของตัวหนอนนี้มีหลาย instars ภายในช่วงเวลา 7-11 วัน ในสภาพอากาศที่อบอุ่น ตัวอ่อนจะทิ้งตัวเข้าดักแด้บริเวณผิวหน้าดินและก็จะกลายมาเป็นตัวเต็มวัยภายในหนึ่งสัปดาห์ ระยะเวลาจะไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 21 วัน แต่อาจจะยาวนานกว่าถ้าอยู่ในช่วงฤดูหนาว พวกมันสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดปี เช่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ หรือฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
ถิ่นที่อยู่และแหล่งอาหาร
ตัวเต็มวัยมีปากส่วนหนึ่งเป็นแบบเลีย และอีกส่วนเป็นแบบเขี่ย เพราะว่ามีหนามรอบรอบส่วนปากทั้งหมด ตัวอ่อนเจริญเติบโตในหลายสถานที่เช่น บริเวณซากพืช มูลสัตว์ รากพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่มีทางระบายน้ำไหล หรือแม้กระทั้งดินทราย เป็นต้น แมลงวันเพศเมียจะเข้าจู่โจมสัตว์ ในขณะที่ตัวผู้กินน้ำหวานจากดอกไม้ ตัวเต็มวัยเพศเมียสามารถจับได้โดยใข้ Fine mesh aerial net โดยแกว่งไปรอบๆในพื้นที่ที่พบเจอแมลงวันระบาด
การควบคุม
การควบคุมนั้นในอดีตใช้เหยื่อพิษ ซึ่งเป็นคนละชนิดกับที่ใช้กันในทางการเกษตร ใน 10 ปีที่ผ่านมาแต่ละเขตใช้กับดักประมาณ 8,000-10,000 กับดักในการควบคุมแมลงวันEyegnat ในแต่ละฤดูกาล โดยใช้ของเหลวเป็นเหยื่อล่อให้แมลงวัน eyegnate ออกจากพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ชนบท โดยปราศจากการใช้สารเคมี กับดัก eyegnats trap ทำขึ้นจากขวดพลาสติก สองชิ้นมาประกบกันจากนั้นทาด้วยสีดำ
แมลงวัน แมลงวัน Fungus gnat
แมลงวัน Fungus gnat เป็นแมลงในอันดับ Diptera ที่มาชองชื่อ gnat นั้นมาจากขนาดตัวที่เล็กและอาหารหลักของ แมลงวัน Fungus gnat คือเชื้อรา
ความเสียหาย
แมลงวันชนิดนึ้สร้างความรำคาญภายในบ้านเรือน อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับไม้กระถางหรือต้นไม้ สามารถพบเจอได้โดยทั่วไป
ชีววิทยาและวงจรชีวิต
เพศเมียปกติจะว่าไข่บนเชื้อรา ใต้เปลือกไม้ ภายในโพรง หรือภายในรัง แหล่งเพาะพันธุ์ของพวกมันคือแหล่งที่มีความชื้น แหล่งที่มีซากพืชซากสัตว์ กระถางต้นไม้ที่มีการรดน้ำมากเกินไป ตัวอ่อนกินเชื้อรา หรือที่ที่มีเชื้อรา ภายในต้นไม้ที่ตาย ซากพืช ใต้เปลือกไม้ เป็นต้น บางครั้งอาจจะกินแมลงหรือหนอนที่มีขนาดเล็กกว่า เข้าดักแด้ภายในอาหารหรือในรังดักแด้ ตัวเต็มวัยจะออกมาภายในเวลา 3 วัน ตัวเต็มวัยกินเชื้อรา เห็ด และซากพืชที่เน่าเปื่อย สามารถพบเจอได้บนดิน หรือที่มีเศษซากอินทรีย์วัตถุ และยังสามารถพบเจอ แมลงวัน Fungus gnatได้ในสถานที่ที่มีความชื้นที่เหมาะกับการเติบโตของเชื้อรา
ลักษณะ
มีขนาดเล็กรูปร่างคล้ายยุง เป็นแมลงวันสีน้ำตาล ดำ หรือเหลืองอมน้ำตาล บางชนิดอาจจะมีสีสันสดใส ส่วนอกจะค่อมส่วนขาจะยาวและเรียว การจำแนกนั้นปกติจะจำแนกได้จาก elongated coxae (ขาปล้องแรก) และเส้นปีก
ถิ่นที่อยู่และแหล่งอาหาร
ตัวเต็มวัยมีปากส่วนหนึ่งเป็นแบบเลีย และอีกส่วนเป็นแบบเขี่ย เพราะว่ามีหนามรอบรอบส่วนปากทั้งหมด ตัวอ่อนเจริญเติบโตในหลายสถานที่เช่น บริเวณซากพืช มูลสัตว์ รากพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่มีทางระบายน้ำไหล หรือแม้กระทั้งดินทราย เป็นต้น แมลงวันเพศเมียจะเข้าจู่โจมสัตว์ ในขณะที่ตัวผู้กินน้ำหวานจากดอกไม้ ตัวเต็มวัยเพศเมียสามารถจับได้โดยใข้ Fine mesh aerial net โดยแกว่งไปรอบๆในพื้นที่ที่พบเจอแมลงวันระบาด
การควบคุม
ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และตรวจสอบให้แน่ใจโดยการตรวจหาความชื้นและที่ชุ่มชื้นที่เหมาะสมแต่การเติบโตของเชื้อราและแหล่งอาหารของตัวอ่อน
การกำจัด แมลงวัน Fungus gnat ในไม้กระถางสามารถใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus thuringiensis สารเคมีเช่น pyrethrins และ tetramethrin ทำให้ลดจำนวนตัวเต็มวัยที่พบเจอ ใช้เฉพาะในสถานที่ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เท่านั้น ใช้ Olyset Net ซึ่งได้รับคำแนะนำจาก WHO ว่ามีประสิทธิภาพในการปกป้องจากยุงพาหะนำโรคและแมลงพาหานะโรค
สัตว์ฟันแทะและ
Shrew
ส่วนใหญ่สัตว์ฟันแทะเป็นสัตว์ที่ดุร้าย กินไม่เลือกและสามารถปรับตัวได้ดีในทุกสภาพอากาศ การที่มันสามารถปรับตัวได้ดีในทุกสภาพอากาศ จึงทำให้อัตราการขยายพันธุ์สูง พวกมันจึงเป็นสัตว์ที่ใกล้ชิดกับมนุย์ หนูสามารถเจริญเติบโตได้ในสภาวะและอากาศที่หลากหลาย
House Shrew
House Shrew มีหลากหลายชนิด และยังมีหลายขนาด หลายสี อีกด้วย เป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก คล้ายหนูแต่มีจมูกที่ยาวแหลม ขนสั้นและนุ่ม มีหลายสีเช่น เทาสว่าง เทาน้ำตาลไปจนถึงสีดำ ตัวเต็มวัยเพศเมียน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ23.5-82.0 กรัม เพศผู้หนัก 33.2-147.3 กรัม House shrews มีตาที่เล็ก หนา หางไม่มีขน และสามารถร้องเสียงแหลม
ถิ่นที่อยู่และแหล่งอาหาร
ปกติจะพบเจอในบริเวณใกล้ๆบ้าน ในพื้นที่เกษตรกรรม ป่าธรรมชาติ บริเวณแหล่งชุมชน ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดคิดว่าสัตว์ชนิดนี้เป็นหนู พวกมันชอบกินแมลงเช่นแมลงสาบ จิ้งหรีด เป็นต้น
หนู Rat
หนูมีความดุร้าย กินไม่เลือกและสามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพอากาศ ศักยภาพในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของหนูนั้นทำให้พวกมันจึงแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและมีความใกล้ชิดกับมนุษย์ หนูสามารถอยู่ได้ทุกสภาพอากาศทุกสภาวะ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นพวกมันได้ทั้งในบ้าน อาคารต่าง ๆ ฟาร์ม สวนและทุ่งโล่งกว้าง
ความสำคัญทางการแพทย์
หนูนั้นเป็นสัตว์พาหะนำโรคต่าง ๆมากมายมาสู่มนุษย์และปศุสัตว์ เชื้อที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคจากหนูสู่มนุษย์ได้แก่ ไวรัส ริตเก็ตเซีย แบคทีเรีย โปรโตซัว พยาธิ หนอนตัวแบน เป็นต้น มีเชื้อโรคหลายโรคที่อาศัยอยู่ภายในเลือดของหนู ดังนั้นจึงอาจมีแมลงต่าง ๆ เป็นตัวกลางที่นำพาเชื้อโรคจากหนูมาสู่มนุษย์ การถ่ายทอดการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากหนูที่รู้จักกันทั่วไปคือโรค leptospirosis และ salmonellosis มีหลักฐานใหม่ทางการแพทย์ จากเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านการแพทย์นั้นแสดงให้เห็นว่าเชื้อโรค กับหนูนั้นมีความสัมพันธุ์กันอย่างใกล้ชิด โรคบางโรคเช่น hantavirus leptospirosis นั้นไม่ค่อยได้รับความใส่จากประชาชนเท่าไหร่ แต่อาการนั้นก็ยังไม่ค่อยแน่ชัด อาจทำให้เจ็บป่วยขั้นรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้
ชีววิทยาและวงจรชีวิต
หนูส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนมากพวกมันมีสายตาที่ค่อยข้างแย่ แต่พวกมันมีประสาทสัมผัสทางด้านการฟัง การดมกลิ่น การลิ้มรสอาหาร และการสัมผัส เป็นเลิศ หนูสำรวจและเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของพวกมันอยู่เสมอ จดจำสถานที่ต่าง ๆ ทางเดิน อุปสรรค แหล่งอาหาร แหล่งน้ำ แหล่งหลบซ่อน และอาณาบริเวณของพวกมัน พวกมันค้นหาอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มในการหลีกเลี่ยงกับสิ่งใหม่ๆ ที่วางอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มันคุ้นเคย ดังนั้น วัตถุเช่น กับดัก เหยื่อ ที่พบเจอบ่อย ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานภายในระยะเวลาหลาย ๆ วัน หนูเพศเมียที่เป็นสัด จะดึงดูดเพศผู้โดยใช้กลิ่นจากนั้นก็มีเริ่มผสมพันธุ์กัน ในสภาพอากาศปกติเพศเมียจะตั้งครรภ์ประมาณ 20-23 วัน ลูกหนูจะเกิดมาตาบอดและไม่มีขน หลังจากนั้น 7-10 วัน ตาจะเริ่มเปิดแล้วขนจะเริ่มขึ้น ลูกหนูจะอาศัยอยู่กับแม่เพื่อกินน้ำนม และจะหย่านมเมื่ออายุประมาณ 20 วัน หนูสามารถผสมพันธุ์ได้ในเวลา 2-3 เดือน หนูสามารถให้กำเนิดลูกได้10-12 ตัว หนูนั้นสามารถลอดผ่านใต้ประตูขนาดครึ่งนิ้วได้ ถ้าประตูทำจากไม้หนูสามารถแทะเพื่อให้เกิดช่องว่างได้
การควบคุม
วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมหนูคือเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ไม่เหมาะสมกับหนู หรือไม่ใช่แบบที่หนูชอบ โปรแกรมการกำจัดหนูให้ประสบความสำเร็จประกอบด้วยสามปัจจัยคือ มาตราการสุขาภิบาล การสำรวจโครงสร้างและตรวจสำรวจหนู และการควบคุมประชากรหนู มาตราการสุขาภิบาลนั้นเป็นมาตรการพื้นฐานในการควบคุมหนูและต้องทำอย่างต่อเนื่อง หากไม่ทำเป็นประจำและสม่ำเสมอหนูก็สามารถกลับมาได้เร็วยิ่งขึ้น ถังขยะ ขยะ เศษขยะต่างๆในสวน ควรทำการเก็บรวบรวมบ่อย ๆ และควรมีฝาปิดมิดชิด หากมีการเลี้ยงสุนัขภายนอกบ้านและให้อาหารภายนอกบ้าน อาจจะมีปัญหาหนูเข้ามารบกวน จึงควรให้อาหารกับสัตว์เลี้ยงอย่างพอดี และเก็บอาหารไว้ในกล่องที่สามารถป้องกันหนูได้ อีกวิธีหนึ่งที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสำหรับการควบคุมหนูภายในอาคารคือ ไม่ให้มันเข้ามาได้ ปิดรอยแตกรอยแยก ท่อน้ำ สายไฟ ท่อระบายน้ำ ไม่ควรมีขนาดมากกว่า 1/4 นิ้ว โพลงต่าง ๆ ควรปิดให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้หนูสามารถเข้ามาได้ ส่วนขอบประตูหน้าตาที่เป็นไม้ อาจจะบุด้วยแผ่นโลหะเพื่อป้องกันการกัดแทะของหนู กับดักหนูนั้นแนะนำให้ใช้บริเวณภายนอกอาคารดีที่นิ มิฉะนั้นหนูอาจจะตายอยู่หลังกำแพง ในสภาพอากาศที่ร้อนจะได้กลิ่นเหม็นของซากหนูจะไม่สามารถทนได้ อาจจะต้องมีการฟังซากหนู เพราะซากหนูมีหมัดพยาธิ ไร อาจสร้างความรำคาญรบกวนถ้าไม่ได้เอามันออกไปฟัง
ปลวก
Termites
ปลวกกินไม้เป็นอาหาร ภายในกระเพาะของปลวกมีโปรโตซัว ช่วยย่อยไม้ ปลวกนั้นจึงเป็นปัญหาสำคัญในการทำความเสียหายให้กับโครงสร้างที่ทำจากไม้
ปลวกไม้ชื้น Dampwood termite
ปลวกไม้ชื้น สร้างรังในไม้ที่ฟังลงไปในดิน ถึงแม้ว่าจะสัมผัสกับดินแต่ก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ไม้ที่เข้าทำลายนั้นมีความชื้นสูง เพราะว่าพวกมันต้องการความชื้น ปลวกไม้ชื้นส่วนมากพบเจอบ่อยในเขตอากาศหนาว พื้นที่ที่มีแหล่งอินทรีย์วัตถุ พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่เลี้ยงม้า แมลงเม่าจะบินออกมาผสมพันธุ์กันในระหว่างเดือน กรกฏาคม ถึงเดือน ตุลาคม แต่ก็ไม่แน่เสมอไป อาจจะพบเจอได้ตลอดทั้งปี แมลงเม่าส่วนมากจะชอบเล่นกับแสง (บางครั้งอาจเรียกว่า swarmers)
การควบคุม
การควบคุมปลวกนั้นขึ้นอยู่กับชนิดที่พบเจอ ปลวกหลายรังที่พบเจออาจจะเป็นชนิดเดียวกัน หรือ อาจจะพบเจอหลายชนิดในพื้นที่เดียวกันก็เป็นไปได้ ดังนั้นการควบคุมจึงขึ้นอยู่ชนิดและสถานที่ที่พบเจอและวิธีการที่คุณจะจัดการ ปลวกใต้ดินอาจพบเจอน้อย ปลวกไม้ชื้นอาจสร้างรังอยู่เหนือดิน ดังนั้นวิธีการจัดการนั้นอาจจะทำได้คล้าย ๆ กัน แต่อย่างไรก็ตามปลวกไม้ชื้นที่ทำรังอยู่เหนื่อพื้นดินควรรีบทำการกำจัดเสียจะดีกว่า
ปลวกใต้ดิน ปลวกใต้ดิน
ประกอบด้วยวงศ์ Masotermitidae Rhinotermitidae และ Termitidae
ปลวกใต้ดินสร้างรังอยู่ใต้ดินและพวกมันชอบอาศัยอยู่ในดินที่ชื้น ในการหาอาหาร ปลวกใต้ดินจะสร้างทางดินเป็นท่อดิน เพราะว่าพวกมันมีความรู้สึกไวต่ออากาศแห้งเมื่อสัมผัสกับอากาศ โดยปกติพวกมันจะหาอาหารเหนือผิวดินหาแหล่งไม้หรือแหล่งที่มีเซลลูโลส พวกมันสามารถย่อยเซลลูโลสได้เพราะว่ามีโปรโตซัวในกระเพาะ
ลักษณะ
ลักษณะที่สำคัญของปลวกใต้ดิน ใน Family Rhinotermitidae CoptCoptotermes gestroi
1.  ปลวกทหารจะมีส่วนหัวค่อนข้างกลม รูปร่างลักษณะคล้ายลูกแพร์
2.  ปลวกทหารมีขนาดประมาณ 3.5-6.5 มม.
3.  เมื่อปลวกทหารถูกรบกวนจะสำรอกสารสีขาวออกมาจากส่วนหัว
การควบคุม
การควบคุมปลวกใต้ดินโดยทั่วไป
การเทราดสารเคมีลงไปในดินเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการควบคุม ใช้ได้กับโครงสร้างบ้านหลากหลายรูปแบบ
การใช้เหยื่อพิษกำจัดปลวกเป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจ
การใช้ Physical barrier เช่นการใช้เหล็กเป็นฉากกั้น หรือการใช้เทคโนโลยีตรวจหาปลวก Termatrac technology
ความแตกต่างระหว่างปลวกใต้ดิน กับปลวกชนิดอื่น
ปลวกชนิดอื่นๆ
A   แสดงให้เห็นส่วนของกราม
B   แสดงให้เห็นว่าส่วนของ pronotum มีขนาดกว้างกว่าส่วนหัว
ปลวกใต้ดิน
C   ส่วนกรามของปลวกใต้ดินนั้นเรียวและกรามไม่มีส่วนหยัก D   ส่วนของ pronotum แคบกว่าส่วนหัว
ปลวกกินไม้เนื้อแห้ง ปลวกกินไม้เนื้อแห้ง
บทนำ
ปลวกกินไม้เนื้อแห้งเป็นปลวกที่มีจำนวนประชากรไม่มีไม่กี่พันตัว ปลวกพวกนี้อาศัยอยู่ในไม้ที่แห้งสนิทบนอาคารบ้านเรือนตลอดเวลา และไม่ลงดิน
ชีววิทยา
ปลวกกินไม้เนื้อแห้งมีรูปแบบวรรณะภายในรังเช่นเดียวกับปลวกชนิดอื่นๆ ปลวกที่มีปีกหรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่า แมลงเม่า พวกมันจะบินออกจากรังเมื่อมีสมาชิกภายในรังมาก พฤติกรรมนี้อาจเรียกว่า swarming แมลงเม่าที่บินออกไปเป็นฝูงนั้นจะจับคู่ผสมพันธุ์หลังจากนั้นจึงบินไปหาไม้แห้งเพื่อที่จะเริ่มสร้าง colony ใหม่ ไม่เหมือนกับ ปลวกใต้ดิน ปลวกกินไม้เนื้อแห้งจะสร้างรังภายในไม้มากกว่าที่จะสร้างรังในดิน ตั้งแต่ปลวกกินไม้เนื้อแห้งสร้าง colony ขึ้นมาใหม่พวกมันไม่ได้น้ำจากแหล่งน้ำใด ๆ เลย จึงเป็นที่มาของชื่อ ปลวกกินไม้เนื้อแห้ง หรือปลวกกินไม้เนื้อแห้ง พวกมันต้องการน้ำเช่นกันมันจะได้น้ำจาก กระบวนการ metabolism ของไม้ หรือความชื้นของอากาศรอบๆที่มันอาศัย ปลวกกินไม้เนื้อแข็งอาศัยอยู่ในไม้และจะต้องหาทางกำจัดสิ่งปฏิกูลออกจาก colony ของพวกมัน พวกมันจึงสร้างรูเล็กในไม้ บางครั้งพวกมันก็เขี่ยเอามูลที่เป็นเม็ดกลมออกทางรูเหล่านั้น ปกติพวกมันจะเก็บไว้ข้างใต้รูเปิดเหล่านั้น มูลของพวกมันมีลักษณะแห้ง เนียน เป็นเม็ดกลม เป็นลักษณะเฉพาะของปลวกกินไม้เนื้อแห้ง
ความสำคัญ
ไม้ถูกทำลายโดยปลวกงานที่สร้างทางเดินเพื่อขยาย colony ถ้าตัดไม้ตามลายไม้จะเห็นได้ว่าโครงสร้างภายในไม้นั้นถูกทำลายไปจนเกือบหมด เม็ดมูลของปลวกกินไม้เนื้อแห้งบางทีอาจพบเจออัดอยู่ภายในโพรงก็เป็นไปได้เช่นกัน
ปลวกกินไม้เนื้อแห้งมีแนวโน้มที่จะทำลายไม้ได้ช้ากว่าปลวกใต้ดิน แต่ก็เป็นเรื่องที่ยากจะตรวจสอบ ความสำคัญในการทำความเสียหาย ขึ้นอยู่กับอาณาบริเวณที่พวกมันเข้าทำลาย บางครั้งการเจอปลวกครั้งแรกแต่ไม้ก็ได้เสียหายไปแล้วเช่นกัน
การควบคุมและการจัดการ
ไม้สำเร็จรูปควรมีการทาน้ำยาเคลือบป้องกันปลวก DTM Wood protectant สามารถป้องกันแมลงที่เข้าเจาะทำลายไม้ได้ด้วย สามารถผสมกับน้ำหรือน้ำมันแล้วทาเพื่อป้องกันเนื้อไม้ ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้สามารถใช้ป้องกันได้ตั้งแต่หนึ่งเดือนถึงหนื่งปี
การรื้อและการนำไม้ใหม่มาทดแทน เป็นวิธีการที่นิยมใช้แก้ปัญหากันมากที่สุดเมื่อเจอปัญหาปลวกเข้าทำลาย ถ้าพื้นที่ที่ปลวกเข้าทำลายนั้น ไม้สามารถรื้อออกได้ หรือเป็นโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยไม้ชิ้นเล็กๆที่สามารถรื้อออกและนำมาใส่ใหม่ นี่เป็นสิ่งที่แนะนำ ไม้ที่ถูกปลวกเข้าทำลายนั้นจะต้องทำการรื้อออก เพราะมันทำให้โครงสร้างเสียหาย ถ้าปลวกสร้างความเสียหายอย่างหนัก ผลิตภัณฑ์ไม้จะต้องมีจัดการ
การฉีดสารเคมี การฉีดสารเคมีโดยใช้สเปรย์สามารถทำได้ในบริเวณที่มีปลวกเข้าทำลาย แต่ควรที่จะทำการจัดการมูลที่อยู่ภายในไม้ก่อนที่จะทำการฉีดพ่น การฉีดที่ดีควรจะแยกส่วนที่เข้าถึงกับส่วนที่เข้าไม่ถึง เป้าหมายเพื่อกำจัดไข่และตัวอ่อน สารเคมีที่ฉีดอาจจะถูกไม้ดูดซึม ดังนั้นจึงควรทำเครื่องหมายว่าพื้นที่ใดได้รับการฉีดพ่นไปแล้ว
ตัวเรือด
Bed Bugs
ลำดับชั้นทางอนุกรมวิธาน
Class: Insecta
Order: Hemiptera
Family: Cimicidae
Scientific name: Cimex hemipterus (Tropical bedbug), Cimex lectularius (Common bedbug)
ตัวเรือดเป็นแมลงที่ออกหากินในเวลากลางคืนขนาดเล็กอยู่ใน Family Cimicidae อาศัยกินเลือดเป็นอาหาร ปกติพวกมันชอบกินเลือดมนุษย์แต่พวกมันก็สามารถกินเลือดค้างคาวได้เช่นกัน แม้กระทั้งสัตว์เลือดอุ่นเช่น กระต่าย หนู guinea pig นก และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ
ลักษณะ
ตัวเรือดตัวเต็มวัย จะเป็นแมลงที่มีรูปทรงเป็นรูปไข่ สีน้ำตาล ถึงน้ำตาลแดง ไม่มีปีก ลำตัวแบนด้านบนและด้านล้าง เพศเมียจะมีขนาดและรูปร่างใหญ่กว่าเพศผู้ ตัวเรือดที่ไม่ได้กินอาหารจะมีขนาด 1/4 ถึง 3/8 นิ้ว ผิวหนังของมันอาจจะมีรอยย่น ตัวเรือดที่กินเลือดใหม่ๆตัวจะบวมไปด้วยเลือด ลำตัวจะมีสีแดงเข้ม ลำตัวจะยืดยาวออกไป จะบวมแพร่ขยายออก ไข่มีสีขาวยาวประมาณ 1/32 นิ้ว ตัวอ่อนที่เพิ่งฟักออกจากไข่มีสีใกล้เคียงกับตัวเต็มวัย
วงจรชีวิต วงจรชีวิต
เพศเมียสามารถวางไข่วันละ 5 ฟองและสามารถวางไข่ได้ถึง 500 ครั้งในชั่วชีวิต ไข่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีขนาดประมาณ 1 มม. มีสีขาวน้ำนม
ไข่จะถูกวางไว้อย่างปลอดภัย 10 ถึง 50 ฟองภายในรอยแตกของหัวเตียง พื้น ผนัง หรือพื้นที่ที่ขรุขระ ไข่จะมีสารซีเมนต์เหนียวเคลือบอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ไข่ยึดติดแน่นกับวัตถุต่าง ๆ ไข่จะฟักออกมาภายในหนึ่งถึงสองสัปดาห์ หลังจากตัวอ่อนฟักจากไข่ก็จะเริ่มกินทันที
ตัวเรือดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่สมบูรณ์ ตัวอ่อนรูปร่างหน้าตาคล้ายกับตัวเต็มวัย ตัวอ่อนจะเรียกว่า nymphs ตัวอ่อนจะลอกคราบ 5 ครั้ง ระยะตัวอ่อนใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์
ตัวเรือดจะกินเลือดประมาณครั้งละ 3 ถึง 5 นาที หลังจากที่พวกมันกินเลือดมันจะทิ้งตัวลงจากเหยื่อแล้วก็คลานไปซ่อนตัวสองสามวัน และก็ย่อยอาหาร เมื่อพวกมันหิวอีกพวกมันก็จะออกมาจากแหล่งหลบซ่อนตัวแล้วก็หาเหยื่อต่อไป ถ้าไม่มีอาหาร พวกมันก็ยังคงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ตัวอ่อนที่เพิ่งฟังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึงสองสามสัปดาห์ในสภาพอากาศอบอุ่น หรือหลายเดือนในสภาพอากาศเย็น ตัวเต็มวัยสามารถอยู่ได้นานถึงสองเดือน หรือนานก่วานั้นในช่วงที่ขาดอาหาร
จะหาพวกมันเจอได้ที่ไหน?
ตัวเรือดเป็นแมลงที่มีรูปร่างลักษณะแบน ดังนั้นพวกมันจึงสามารถหลบซ่อนในรอยแตกแยกที่เล็ก ๆ ได้ง่ายด่าย รอยแตกรอยแยกที่บัตรเครดิตสามารถเสียบได้ ตัวเรือดก็สามารถเข้าไปหลบซ่อนได้ด้วยเช่นกัน ในช่วงเวลากลางวันพวกมันจะหลบซ่อนตัวจากแสง เช่นตามตะเข็บที่นอน กลางที่นอน ผนังเตียง ใกล้ๆกับเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ พรม พื้นบัว เป็นต้น แหล่งหลบซ่อนของตัวเรือดสามารถพบเจอไดบ่อยโดย สามารถสังเกตได้จากจุดสีดำหรือสีน้ำตาล ซึ่งเป็นสิ่งขับถ่ายและอุจจาระของตัวเรือดที่ถ่ายไว้บนพื้นผิวสิ่งของต่าง ๆ ไข่และเปลือกไข่ก็สามารถพบเจอได้ตามแหล่งหลบซ่อนเช่นกัน ก่อนช่วงที่จะมีการระบาดหนัก อาจจะพบตัวเลือดได้บริเวณตะเข็บเตียง หรือบริเวณรอบพับต่าง ๆ ของเตียง หลังจากนั้นจึงแพร่กระจายไปตามรอยแตกรอยแยกของเตียง ส่วนต่าง ๆของเตียง เมื่อระบาดมาก ๆจะพบเจออยู่ตามพื้นบัว หน้าตา กรอบประตู รูปภาพ กรอบรูป ในเฟอร์นิเจอร์ วอล์เปอเปอร์ รอยฉาบปูนที่แตก เป็นต้น
การจัดการ
ตัวเรือดรู้จักกันดีในฐานะที่เป็นแมลงที่ค่อนข้างจะพบเจอยาก และออกหากินในเวลากลางคืน วิธีในการตรวจสอบในการค้นหาควรให้บริษัทกำจัดแมลง เข้ามาตรวจสอบจะดีที่สุด
แมลงเจาะเนื้อไม้ Wood Boring Insects
Wood Boring Insects
แมลงเจาะเนื้อไม้ เป็นแมลงที่ทำลายสุขภาพของต้นไม้ เป็นแมลงศัตรูที่รุกรานต้นไม้อาจส่งผลให้ต้นไม้ตายได้ ถ้าเข้าทำลายไม้แปรรูป จะส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
มอดขี้ขุยเทียม มอดขี้ขุยเทียม
ลักษณะตัวเต็มวัย
ตัวเต็มวัย
1.  ตัวเต็มวัยลำตัวมีความยาวประมาณ 8 มม.
2.  ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลอมแดงถึงดำ
3.  ตัวเต็มวัยลำตัวยาวรูปทรงกระบอก
4.  มองด้านบน จะไม่สามารถมองเห็นส่วนหัวได้
ลักษณะของตัวหนอน
1.  ตัวหนอนมีความยาวประมาณ 5-8 มม.
2.  ตัวหนอนมีสีขาว
3.  ตัวหนอนมีอกขนาดใหญ่ ตัวหนอนมีรูปร่างเป็นตัว C
มอดขี้ขุยเทียม
เป็นแมลงในวงศ์ Bostrichidae หรือที่รู้จักกันในนามของ มอดขี้ขุยเทียม พบแพร่กระจายทั่วโลก
ความเสียหาย
รูที่มอดเจาะส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับชนิดของมอด โดยปกติแล้วมอดขี้ขุยเทียมจะจะเป็นรูกว้างประมาณ 2.5-7 มม. สัญญาณอื่นๆที่บ่งบอกว่ามอดขี้ขุยเทียมเข้าทำลายก็คือผงเศษไม้จำนวนมาก ผงเศษไม้อาจจะเต็มทางเดินภายในที่มอดได้ขุดรูเจาะไว้ แต่จะไม่เป็นก้อนกลมๆเหมือนผงเศษไม้ของมอดจำพวก anobiids
ชีววิทยาและวงจรชีวิต
ตัวเต็มวัยเพศเมียแตกต่างจากด้วยในวงศ์ Anobiidae และ Lyctidae เพราะเจาะเข้าไปในเนื้อไม้แล้ววางไข่ หลังจากที่ตัวเมียวางไข่ลงไปในเนื้อไม้แล้วก็จะออกไปจากรูที่เจาะ ไข่จะฟักเป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์และตัวเต็มวัยจะมีอายุอีก 9 เดือนถึงจะเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ใช้เวลา 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ในรูนั้นประมาณ 4-6 สัปดาห์จากนั้นก็จะเจาะรูทำทางออกใหม่ จะทำทางออกขนาด 1/8- 1/4 นิ้ว ระยะเวลาในการพัฒนา จากระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัยโดยเฉลี่ยหนึ่งปี
การควบคุม
การควบคุมมอดที่เจาะเข้าทำลายไม้แล้วนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากในการควบคุม การป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด การป้องกันควรเริ่มจากป้องกันทุกขั้นตอนในการทำไม้แปรรูป ตั้งแต่ขึ้นตอนการวัดขนาดไม้และเลื่อยไม้ การจัดการภายในโรงงานเลื่อยไม้ อัดไม้ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์และภายในอาคารสถานที่ การสุขาภิบาลรักษาความสะอาดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกัน ทำการตัดหรือทำลายกิ่งไม้แห้งรอบๆอาคารหรือที่ใกล้กับสถานที่เก็บผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ทำลายหรือเคลื่อนย้ายกองเศษไม้เล็กๆและไม้แปรรูปก่อนที่จะถูกมอดะเจาะเข้าทำลาย เผาเศษไม้เพื่อเป็นการทำลายมอดที่เข้าเจาะกิน แม้ว่าพวกมันไม่ได้เข้าทำลายซ้ำ วัสดุที่ใช้สำหรับทำดครงสร้างภายในอาคาร เฟอร์นิเจอร์ไม้ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนการนำมาใช้งานว่าไม่มีการเข้าทำลายของมอดเจาะไม้ ปกป้องไม้โดยการทาหรือเคลือบเงาไม้รอยแตก สารเคมีที่สามารถใช้ในการป้องกันไม้ได้ DTM wood protectant สารเคมีที่ใช้ควบคุมมอดขี้ขุยได้ได้แก่ deltamethrin
มอดขี้ขุยแท้
ด้วงใน Family Lyctidae เป็นที่รู้จักกันในนามของ มอดขี้ขุยแท้ ชื่อนี้มาจากตัวหนอน ตัวหนอนมอดขี้ขุยแท้จะถ่ายออกมาผสมกับอาหาร เป็นขุยผง อยู่ภายในรู บางก็ก็หล่นออกมาบนพื้นหรือพื้นผิววัสดุต่าง ๆ ขุยพงนี้จะช่วยในการจำแนกชนิดของมอดเจาะไม้และช่วยจำแนกความแตกต่างของชนิดมอดเจาะไม้ Lyctids จะทำลายไม้แข็ง เพราะมันมีร่องไม้เล็กๆให้สามารถวางไข่ได้ง่าย ไม้เนื้ออ่อนไม่มีร่องไม้เล็กๆ และไม้เนื้ออ่อนไม่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มากพอสำหรับมอดขี้ขุยแท้ มอดขี้ขุยแท้จะเข้าทำลายไม้ที่แห้งมากๆ ความชื้นต่ำกว่า 8 เปอร์เซนต์
ความเสียหาย
ตัวเต็มวัย Lyctids ปกติสีน้ำตาลถึงน้ำตาลแดง ไม้ที่เข้าทำลายได้แก่ไม้โอ๊ค แอ๊ช มาฮอกกานี วอลนัท เข้าทำลาย การเข้าทำลายของมอดขี้ขถุยแท้ยังสามารถเข้าทำลาย วงกบประตูหน้าต่าง ไม้อัด พื้นไม้เนื้อแข็ง วัสดุที่ทำจากไม้ไผ่รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ ถ้ามีแมลงหรือตัวอ่อนมอดขี้ขุยเข้าไปภายในอาคารหรือเฟอร์นิเจอร์ ก็สามารถเกิดความเสียหายกับสิ่งของต่าง ๆ ได้ บางครั้งอาจจะมีสัญญาณของการเข้าทำลายเล็ก ๆ รอบๆรูทางออกที่มอดขี้ขุยทำอาจจะพบเจอตัวเต็มวัยออกมาอยู่บริเวณนั้น เมื่อพวกมันออกมาจากรูในแต่ละครั้งพวกมันจะบินไปยังไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้อื่นๆ เพื่อที่วางไข่บนพื้นผิวหรือตามรอยแตกรอยแยก
ชีววิทยาและวงจรชีวิต
ตัวเต็มวัยมอดขี้ขุยแท้ (lyctids) ออกหากินในช่วงกลางคืน ปีกเจริญดี และดึงดูดโดยแสงไฟ เพศเมียวางไข่ 15-50 ฟอง บนรูของผิวไม้ รอยแตกหัก แต่ไม่เคยวางไข่บนไม้ที่ทาสีเคลือบ เคลือบเงา หรือ แว๊กซ์ ตัวอ่อนเจาะขุดรูปเข้าไปตามเนื้อไม้ รูที่พวกมันเจาะพอดีกับตัวมาก ขี้ขุยนั้นลักษณะคล้ายแป้ง หลังจากลองคราบสองถึงสามครั้ง (2-9 เดือน) ตัวอ่อนวันใกล้จะเข้าดักแด้จะเจาะรูกลับมาใกล้ๆกับพื้นผิวเพือสร้างที่สำหรับเข้าดักแด้ ตัวเต็มวัยเจาะรูออกจากพื้นผิวเพื่อที่จะผสมพันธุ์ และกินอาหารเพียงเล็กน้อย ระยะเวลาในการเจริญเติบโตตั้งแต่ไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 9-12 เดือน แต่อาจจะน้อยกว่า อาจใช้เวลา 3-4 เดือนหรือนานถึงสองสามปี ก็เป็นไปได้
จะหามอดขี้ขุยแท้ได้อย่างไร?
รูที่มอดขี้ขุยแท้เจาะนั้นอาจจะกว้างประมาณ 0.8-1.6 มม.
ขี้ขุยลักษณะคล้ายกับแป้ง ร่วงหล่วนจากรูได้ง่าย
เห็นตัวเต็มวัยบินออกมาจากรู
การควบคุม
การควบคุมมอดที่เจาะเข้าทำลายไม้แล้วนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากในการควบคุม การป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด การป้องกันควรเริ่มจากป้องกันทุกขั้นตอนในการทำไม้แปรรูป ตั้งแต่ขึ้นตอนการวัดขนาดไม้และเลื่อยไม้ การจัดการภายในโรงงานเลื่อยไม้ อัดไม้ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์และภายในอาคารสถานที่ การสุขาภิบาลรักษาความสะอาดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกัน ทำการตัดหรือทำลายกิ่งไม้แห้งรอบๆอาคารหรือที่ใกล้กับสถานที่เก็บผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ทำลายหรือเคลื่อนย้ายกองเศษไม้เล็กๆและไม้แปรรูปก่อนที่จะถูกมอดะเจาะเข้าทำลาย เผาเศษไม้เพื่อเป็นการทำลายมอดที่เข้าเจาะกิน แม้ว่าพวกมันไม่ได้เข้าทำลายซ้ำ วัสดุที่ใช้สำหรับทำโครงสร้างภายในอาคาร เฟอร์นิเจอร์ไม้ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนการนำมาใช้งานว่าไม่มีการเข้าทำลายของมอดเจาะไม้ ปกป้องไม้โดยการทาหรือเคลือบเงาไม้รอยแตก สารเคมีที่สามารถใช้ในการป้องกันไม้ได้ DTM wood protectant สารเคมีที่ใช้ควบคุมมอดขี้ขุยได้ได้แก่ deltamethrin
ด้วงหนวดยาว ด้วงหนวดยาว
เป็นแมลงในวงศ์ Bostrichidae หรือที่รู้จักกันในนามของ มอดขี้ขุยเทียม พบแพร่กระจายทั่วโลก
ลักษณะ
ตัวเต็มวัยลำตัวมีความยาวประมาณ 8 มม.
ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลอมแดงถึงดำ
ตัวเต็มวัยลำตัวยาวรูปทรงกระบอก
มองด้านบน จะไม่สามารถมองเห็นส่วนหัวได้
ตัวอ่อน
ตัวหนอนมีความยาวประมาณ 5-8 มม.
ตัวหนอนมีสีขาว
ตัวหนอนมีอกขนาดใหญ่ ตัวหนอนมีรูปร่างเป็นตัว C
ชีววิทยาและวงจรชีวิต
ตัวเต็มวัยเพศเมียแตกต่างจากด้วยในวงศ์ Anobiidae และ Lyctidae เพราะเจาะเข้าไปในเนื้อไม้แล้ววางไข่ หลังจากที่ตัวเมียวางไข่ลงไปในเนื้อไม้แล้วก็จะออกไปจากรูที่เจาะ ไข่จะฟักเป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์และตัวเต็มวัยจะมีอายุอีก 9 เดือนถึงจะเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ใช้เวลา 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ในรูนั้นประมาณ 4-6 สัปดาห์จากนั้นก็จะเจาะรูทำทางออกใหม่ จะทำทางออกขนาด 1/8- 1/4 นิ้ว ระยะเวลาในการพัฒนา จากระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัยโดยเฉลี่ยหนึ่งปี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โดยกรอกคำถามลงในแบบฟอร์มด้านล่าง แล้วเราจะตอบคำถามอย่างรวดเร็วที่สุด
พูดคุยกับเราผ่าน LINE
QRCode
สำนักงานบริษัทเบ็นท์เจ๊ส
Bentz Jaz Singapore Pte Ltd - Headquarters
Bentz Jaz Beijing International Science & Technology Co. Ltd
Bentz Jaz (Thailand) Co. Ltd
Bentz Jaz Myanmar Company Limited
PT Bentz Jaz Indonesia
48 Toh Guan Road East
#06-139 Enterprise Hub
Singapore 608586
Tel
:
+65 6841 2986
Fax
:
+65 6841 2026
Room 1018, No. 2 Building, No. 26 Yard
XinHuaLianLiGang, JiuXianQiao
Road Centrel, Chaoyang District
Beijing City PR China
Tel
:
010-64339608
Fax
:
010-64339608
The Trio Avenue 170/5 Phutthamonthon Sai 3 Rd.,
Khwaeng Bang Phai, Khet Bang Khae, Bangkok 10160 Thailand
Tel
:
(+66) 02 408 9882
Fax
:
(+66) 02 408 9883
No. 46A U Lun Maung Street
7th Mile Mayangone Township
Yangon, Myanmar
Tel
:
+959 7670-45-248
Komp Graha Mas Blok B No. 24
JL. Raya Perjuangan No. 1
Kebon Jeruk
Jakarta 11530, Indonesia
Tel
:
+62 (21) 530 3770
Fax
:
+62 (21) 530 2655

Top